วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การบ้านคร๊าบ

๑. งบประมาณด้านการศึกษาของประเทศไทย 
     ประเทศไทยถูก  World Economic Forum   ประเมินว่า มีคุณภาพการศึกษา อยู่ในอันดับที่ ๘  ในกลุ่มประชาคมอาเซียน  โดยประเทศที่ถูกประเมิว่า มีคุณภาพการศึกษา อันดับ ๑.คือ สิงคโปร์   
๒.มาเลเซีย ๓.บรูไน  ๔. ฟิลิปปินส์ ๕. อินโดนีเซีย ๖. กัมพูชา ๗. เวียตนาม  ๘.ไทย (ไม่มี ลาวและพม่า)แต่ จากการสืบค้นข้อมูล ชี้ว่า การจัดงบประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศไทย   ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อบริหารการศึกษา มากเป็นอันดับ ๑ และจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปีมาโดยตลอด ดังต่อไปนี้
ปี ๒๕๕๑  จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน  ๓๐๑,๔๓๗,๔๐๐,๐๐๐   บาท คิดเป็น ร้อยละ๑๘.๒ ของงบประมาณประจำปี
ปี ๒๕๕๒ จัดสรรงบประมาณ ให้ฯจำนวน ๓๕๐,๕๕๖,๕๙๑,๒๐๐  บาท คิดเป็น ร้อยละ ๑๘ ของงบประมาณประจำปี
ปี ๒๕๕๓  จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๓๔๖,๗๑๓,๐๙๓,๓๐๐ บาท  คิดเป็น ร้อยละ ๒๐.๔ ของงบประมาณประจำปี
ปี ๒๕๕๔ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๓๙๒,๔๕๔,๐๓๗,๘๐๐ บาท  คิดเป็น ร้อยละ ๑๘.๑ ของงบประมาณประจำปี
ปี ๒๕๕๕ จัดสรรงบประมาณ ให้ ฯ จำนวน ๔๒๐,๔๙๐,๐๓๒,๖๐๐ บาท คิดเป็น ร้อยละ  ๑๗.๗ ของงบประมาณประจำปี
ปี ๒๕๕๖  จัดสรรงบประมาณ  ให้ ฯ จำนวน ๔๖๐,๔๑๑,๖๔๘,๘๐๐ บาท คิดเป็น  ร้อยละ ๑๙.๑๘ ของงบประมาณประจำปี (ข้อมูลจากงบประมาณแผ่นดิน)
สำหรับ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณ ให้ กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน  ๔๘๑,๓๓๗ ล้านบาท  ซึ่งเป็นงบประมาณ เพื่อการศึกษา ที่สูงมากในกลุ่ม อาเซียน (ข้อมูลจากกนก วงษ์ตระหง่าน)
จากข้อมูลงบประมาณ  จะเห็นว่ารัฐบาลไทย ได้ทุ่มงบประมาณ เพื่อจัดการศึกษา  มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนมหาศาล  แต่  ทำไมผลที่ปรากฏออกมา จึงตรงกันข้าม กลับปรากฏว่า คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยต่ำสุด ในกลุ่มชาติอาเซียน  ?
 จากการวิเคราะห์ น่าจะมีสาเหตุจากปัจจัย ดังต่อไปนี้
๑. ความยากจนของประชาชน ในชนบทห่างไกล  โดย ข้อมูล จาก หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ  วันที่  ๑๒ พ.ย. ๒๕๕๔ รายงานว่า  นายวัชรินทร์ จำปี  รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) บอกว่า ผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียน ส่วนใหญ่ เป็นคนไทยที่อยู่ในชนบท  ห่างไกลและมีความยากจน  นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน เช่น ชาวเขา หรือประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่ไม่ประสงค์จะเข้าเรียน เนื่องจากอายุมาก หรือต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้ไม่มีเวลาไปเรียนหนังสือ
๒. ปัจจุบัน มีคนไทย ไม่รู้หนังสือ  อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ประมาณ ๒ ล้าน คน (ข้อมูลจาก:Unesco ,September 10,2012)
๓. คนไทย ไม่มีนิสัยรักการอ่าน  จากสถิติ ปรากฏว่า คนไทยอ่านหนังสือ  ๘ บรรทัด จากค่าเฉลี่ย ของคนทั้งประเทศ ๖๕ ล้านคน  แต่เพื่อนบ้าน อย่าง สิงคโปร์,เวียตนาม อ่านปีละ ๕เล่ม  ประเทศ จีนอ่านปีละ ๖ เล่ม  ยุโรป อ่านปีละ ๑๖ เล่ม ( ข้อมูลจาก:สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
๔.คุณภาพของโรงเรียนและบุคลากร(ครู) ในเมืองและในชนบทที่ห่างไกล แตกต่างกันอย่างมาก โดย โรงเรียนในชนบทบางแห่ง ขาดแคลน ครูอุปกรณ์การเรียน การสอน บางโรงเรียน ครูคนเดียวสอนนักเรียนหลายห้องในเวลาเดียวกัน  อีกทั้งครูไม่มีเวลาสอนนักเรียนเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีกิจกรรมอื่นให้รับผิดชอบ  เป็นสาเหตุให้นักเรียนเสียโอกาสในการเรียน
๕. การบริหารการศึกษาของประเทศไทยยังขาดประสิทธิภาพ ผู้บริหารการศึกษาขาดวิสัยทัศน์ และไม่จริงจังกับการบริหารการศึกษาให้มีคุณภาพ แม้จะปรากฏว่า มีนักเรียนไทยบางส่วนเรียนดีได้รับรางวัลการแข่งขันด้านต่างๆ แต่ก็เป็นนักเรียนส่วนน้อยเมื่อเทียบส่วนกับนักเรียนทั้งประเทศและจะเป็นนักเรียนที่ฉลาดและเรียนเก่งโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
๖.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางนโยบายระดับสูงสุด ของประเทศไทย มีการเปลี่ยนตัวบ่อยมากและผู้มาดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่ ไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา นโยบายการศึกษาจึงเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ไม่แน่นอน ทำให้การศึกษาของไทยไม่มีคุณภาพ
๗.ปัญหาการคอร์รัปชั่น  จากผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นตลอด ๑๖ ปี (พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๕๔) ของประเทศไทย ได้คะแนน เฉลี่ย ๓.๓๑ (ประเทศที่มีการจัดการคอร์รัปชั่นดีขึ้นแล้วต้องมีคะแนนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๕ คะแนน) ซึ่งถือว่าสถานการณ์คอร์รัปชั่นของไทยยังมีแนวโน้ม อยู่ในระดับสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการจัดอันดับดีกว่า อาทิ สิงคโปร์และฮ่องกง (ศิริวรรณ มนตระผดุงวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๕)  การคอร์รัปชั่นในประเทศไทยมีในทุกวงการไม่เว้นแม้แต่ในวงการศึกษา ดังปรากฏตัวอย่างการทุจริตในวงการศึกษา  กรณีจัดซื้ออุปกรณ์การเรียน ในโรงเรียนอาชีวะศึกษา เมื่อไม่นานมานี้
           การที่คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยต่ำมากเช่นนี้  เป็นสัญญาณว่า คุณภาพของประชากรไทยต่ำเช่นกัน เพราะการให้การศึกษาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของประชากร เมื่อคุณภาพของประชากรต่ำการพัฒนาประเทศก็ไม่สามารถก้าวไปสู่เป้าหมายได้
จึงเป็นเรื่องที่น่า วิตก อย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย
ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งปรับปรุงการศึกษา ให้มีคุณภาพ โดยเร่งด่วน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้.
อ้างอิง
๒. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตประจำวัน 
        สารสนเทศมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรามาก เช่นช่วยในการค้นหาข้อมูล สืบค้นข้อมูล อำนวยความสะดวกต่อมุนษย์มากมาย เช่น
1. การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม 
2.เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน
3.สื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 
4.การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
5.การแสดงผลลัพธ์ทางเครื่องพิมพ์ 
6. การสื่อสารโทรคมนาคม
         และอื่นๆอีกมากมายที่ผมไม่ได้กล่าวมาก สารสนเทศมีความสำคัญมากเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่สำหรับการค้นหาและสืบค้นข้อมูลต่างๆ